ขับเคลื่อนโดย Blogger.

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

กลอนแปด

กลอนแปด เป็นคำประพันธ์อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันทั่วไป เพราะเป็นร้อยกรองชนิดที่มีความเรียบเรียงง่ายต่อการสื่อความหมาย และสามารถสื่อได้อย่างไพเราะ ซึ่งกลอนแปดมีการกำหนดพยางค์และสัมผัส มีหลายชนิดแต่ที่นิยมคือ กลอนสุภาพ
กลอนแปด

ลักษณะคำประพันธ์
๑.  บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค
วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ      วรรคที่สองเรียกวรรครับ
วรรคที่สามเรียกวรรครอง       วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
แต่ละวรรคมีแปดคำ จึงเรียกว่า กลอนแปด
๒.  เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้
          คำท้ายวรรคสดับกำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง
          คำท้ายวรรครับกำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี
          คำท้ายวรรครองกำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี
          คำท้ายวรรคส่งกำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี
 ๓. สัมผัส
          ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่สามหรือที่ห้า ของวรรคที่สอง (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง) และคำที่สามหรือที่ห้าของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)
สัมผัสระหว่างบท ของกลอนแปด คือ
คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำที่ส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)
ข.   สัมผัสใน ในแต่ละวรรคของกลอนแปด แบ่งช่วงจังหวะออกเป็นสามช่วง ดังนี้
หนึ่งสองสาม – หนึ่งสอง – หนึ่งสองสาม
ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะในแต่ละวรรคนั่นเอง ดังตัวอย่าง
อันกลอนแปด – แปด คำ – ประจำวรรค
วางเป็นหลัก – อัก ษร – สุนทรศรี
ตัวอย่างกลอนแปด
เรื่องกานท์กลอนอ่อนด้อยค่อยค่อยหัด
แม้นอึดอัดขัดใจอย่าไปเลี่ยง
ทีละวรรคถักถ้อยนำร้อยเรียง
แม้ไม่เคียงเยี่ยงเขาจะเศร้าไย
วางเค้าโครงโยงคำค่อยนำเขียน
เฝ้าพากเพียรเจียรจารนำขานไข
จะถูกนิดผิดบ้างช่างปะไร
เขียนด้วยใจใฝ่รักอักษรา
แม้ไม่เก่งเพลงกลอนยังอ่อนด้อย
แต่ใจรักถักถ้อยร้อยภาษา
แม้ถ้อยคำนำเขียนไม่เนียนตา
อย่าโมโหโกรธาต่อว่ากัน
ทุกทุกวรรคถัก-ร่ายหมายสืบสาน
ทุกอักษรกลอนกานท์บนลานฝัน
อาบคุณค่าช้านานแห่งวารวัน
เป็นของขวัญค่าล้นเพื่อชนไทย….
…เด็กอัญมณีมีเสน่ห์ ทั้งสวยเท่ห์มากมายชายและหญิง
แสงระยิบระยับวับวาวจริง ดั่งมนต์สิงอยู่รูปจูบแก้วพลอย
…ไม่เป็นสองรองใครไทยประดิษฐ์ งามวิจิตรเหลี่ยมพราวราวสุดสอย
มีเพชรนิลกลิ่นนางมิจางรอย ใจเฝ้าคอยถอยเพชรเก็จมณี…
ข้อสังเกต
กลอนทุกประเภทบังคับเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ สัมผัสนอกระหว่างวรรค เฉพาะวรรค
ที่สอง (วรรครับ) และวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) นั้น จะรับสัมผัสที่คำที่สามหรือคำที่ห้าย่อมได้เสมอ
ส่วนสัมผัสในนั้นจะใช้สัมผัสสระหรืออักษรก็ได้ และสัมผัสสระจะใช้สระเสียงสั้นสัมผัสกับ
สระเสียงยาวก็ได้ เช่น

มาตราตัวสะกดในภาษาไทย

แม่ ก กา 
แม่ เกย 
แม่ กด
แม่ กง 
แม่ เกอว 
แม่ กน
แม่ กม 
แม่ กก 
แม่ กบ

แม่ ก กา
คำในแม่ ก กา เป็นคำที่ไม่มีพยัญชนะเป็นตัวสะกด ท้ายคำ หรือ ท้ายพยางค์ อ่านออกเสียงสระโดยไม่มีเสียงพยัญชนะ

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ ก กา
    กติกา โกลี คร่ำคร่า เคอะ เงอะงะ เฉโกโว้เว้ ซาฟียะห์ น้ำบูดู ปรานี ไม่เข้ายา โยทะกา เรือกอและ  เล้า โสภา หญ้าคา อาชา

แม่ กง
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กง คือ อ่านอย่างเสียง ง

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กง
    กองกลาง โขมง คล้องจอง คูปอง จ้องหน่อง ฉิ่ง ตะราง ตุ้งติ้ง ประลอง พิธีรีตอง มะเส็ง แมงดา รำพึง สรงน้ำ สำเนียง แสลง

แม่ กม
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กม คือ อ่านออกเสียง ม

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กม
    กระหม่อม คำราม จริยธรรม ชมรม ถล่ม ทะนุถนอม ทิม ทุ่ม บรรทม บังคม เปรมปรีดิ์ พฤติกรรม ภิรมย์ แยม หยาม อาศรม

แม่ เกย
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่เกย คือ อ่านออกเสียง ย

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ เกย
    กระจ้อยร่อย ข่าย ชีวาลัย ทยอย นโยบาย เนย เนื้อทราย เปรียบเปรย พระทัย โพยภัย ภูวไนย เสวย มโนมัย วินัย สาหร่าย อาชาไนย
แม่ เกอว
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่เกอว คือ อ่านออกเสียง ว

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ เกอว
    กริ้ว  ก๋วยเตี๋ยว  ข้าวยำ  ข่าวลือ  จิ๋ว  เจื้อยแจ้ว ดาวฤกษ์  ต้นงิ้ว  ท้าวไท  ทาวน์เฮ้าส์  ประเดี๋ยว  ยั่ว เลิกคิ้ว หิวข้าว  เหว  อ่าว

แม่ กก
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กก คือ อ่านออกเสียง ก 

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กก
    โขยกเยก  จ้อกแจ้ก  จักตอก  ชาดก  ดอกบุก  ทาก  นกเงือก  ปักษา  แฝก  พักตร์ มรดก  ไม้กระบอก วิตก  สามาชิก หญ้าแพรก  เอกลักษณ์

แม่ กด
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กด คือ อ่านออกเสียง ด 

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กด
    กระจาด  กะทัดรัด  ขนาดย่อม  ดอกพุด  นัดดา  แน่นขนัด  เพนียด  แรด  ลานวัด  สลัด  สะพัด  หวุดหวิด หูฝาด  อดออม  อดสู  เอร็ดอร่อย

แม่ กน
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กน คือ อ่านออกเสียง น

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กน
    กระตือรือร้น  กันแสง  ขมีขมัน  ขึ้นแท่น  คำประพันธ์  จินดา ชันษา ชุลมุน  ดูหมิ่น  ต้นหว้า  โต๊ะจีน พระชนนี

แม่ กบ
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กบ คือ อ่านออกเสียง บ

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กบ
    คาคบ  ตะขบ  ทะเลสาบ  น้ำมันดิบ  ประทับ  ผลกระทบ  พลับพลา  รสแซบ  ระเบียบ  ริบหรี  ลบหลู่ วัตถุดิบ  เว็บไซต์  สายลับ  สู้ยิบตา  หับ

คำควบกล้ำ

คำควบกล้ำ (อักษรควบ) หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์ และใช้สระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวกัน เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้นจะผันเป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้า
พยัญชนะสองตัวเรียงกัน
มี 
ร ล ว ควบกับตัวหน้า
 
ร่วมสระผันในหลักภาษา
เสียงที่ออกมาร่วมฟ้าเดียวกัน
           ข้อสังเกตว่าเป็นคำควบกล้ำ
1. คำควบกล้ำเวลาสะกดต้องมีพยัญชนะต้นสองตัว โดยจะมี   ล ว รวมอยู่ในพยัญชนะต้น
    
เช่น      าบ    สะกดว่า      + อา + บ      อ่านว่า       กราบ
  
              แป   สะกดว่า    ป + แอ + ง        อ่านว่า      แปรง               กาง    สะกดว่า      + อา + ง      อ่านว่า      กลาง
               คาย    สะกดว่า      + อา + ย        อ่านว่า      ควาย
      
         แ    สะกดว่า    ข + แอ + น        อ่านว่า      แขวน2. เมื่อมีพยัญชนะต้นสองตัวแล้วแต่ต้องไม่อ่านออกเสียง อะกึ่งเสียงที่พยัญชนะต้น
    
เช่น       าด  สะกดว่า      ตล + อา + ด      อ่านว่า     ตะ - หลาด
                 สาย    สะกดว่า     + อา + ย       อ่านว่า      สวาย
                 สว่าง    สะกดว่า      + อา + ง+    อ่านว่า      สว่าง
3. ต้องไม่ใช่คำที่มีนำ
    เช่น       อก     สะกดว่า    + ออ + ก           อ่านว่า      หรอก
                 
ลั     สะกดว่า     + อะ + บ           อ่านว่า      หลับ
                 แห    สะกดว่า     + แอ+ น            อ่านว่า      แหวน
4. 
ระวังคำที่มีสระอัวเพราะจะไม่ใช่คำที่มีควบกล้ำ
    
เช่น       สวย      สะกดว่า    ส + อัว + ย            อ่านว่า      สวย
                 
ควร      สะกดว่า     ค +ัว +              อ่านว่า       ควร
ห้ามมี ห นำ ห้ามมีเสียง อะ
มีเสียง ห นำ มีเสียง อะ กั้น
หรือมีเสียง อัว ถ้ามี ว ด้วย
มิใช่ควบกล้ำอย่างที่คุ้นเคย
 
หลอกหรือสวะตลาดสวรรค์
อย่าไปเรียกมันว่าคำควบเลย
มันอ่านว่า ซวย เสียแล้วหละเหวย
ฟังคำเฉลยที่จะรำพัน
           พยัญชนะต้นควบกับ ร ได้แก่ ครู เพราะ ครัว กรน ปรวนแปร ขรุขระ พระ ตรง ครั้ง กราบ โปรด ปรักปรำ ครื้นเครง เคร่งครัด ครอบ ปรอย กรอง
           คำที่มีเป็นคำควบกล้ำ
             คำควบกล้ำคือคำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกันมี   กร-   ขร-   คร-   ตร-   ปร-  พร-     เช่น เต่ากระ มะกรูด ปลากราย กราบพระ ครีบปลา หอยแครง พริกไทย เครื่องบิน แปรงฟัน เสือโคร่ง
            พยัญชนะต้นควบกับ ลได้แก่ เปล่า ปลีก คลาน คลุก เคล้า เปลี่ยนแปลง กลบ กลม เพลิดเพลิน เกลี้ยกล่อม เกลียวคลื่น คล่องแคล่ว เกล้า
           คำที่มีเป็นคำควบกล้ำ
             คำควบกล้ำคือคำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกันมี   กล-   ขล-   คล-   ปล-  พล-     เช่น ของกลาง เป่าขลุ่ย กล่องนม เปลวไฟ ลำคลอง ปลีกล้วย พลอย แปลงผัก  เกล็ดปลา ตีกลอง
           พยัญชนะต้นควบกับ วได้แก่ กวาด ขวาน ควาย ขวิด แคว่งคว้าง แขวน ขวนขวาย คว่ำ ควาญ แกว่งไกว ความ แคว้น ขวัญ ควัน
           คำที่มีเป็นคำควบกล้ำ
             คำควบกล้ำคือคำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกันมี   กว-   ขว- คว- เช่น แตงกวา ไม้แขวนเสือ ขวาน ควันไฟ กวาง นอนคว่ำ ไขว่ห้าง สูงกว่า ควาย ไม้กวาด
อักษรตัวหน้ามี ก ข ค
หรือมี ป พ ร ล ร่วมกัน
เรื่องคำควบกล้ำแท้กับไม่แท้
ถ้า จ ซ ส ควบ ร ไม้เรียว
ถ้า ท ทหาร ควบ ร ไม้เรียว
 
มี ร ล ว มาร่วมกันผัน
ส่วน ต ร นั้นรักเดียวใจเดียว
ที่กล่าวมาแน่แน่แท้ไม่มีเสียว
ไม่มีข้องเกี่ยวกับตัว ร เลย
ออก ซ ซีดเซียวไม่เกี่ยว ร เลย

คำเป็น คำตาย

คำเป็น  คำตาย
                คำเป็น  คำตาย  เป็นการจำแนกคำตามลักษณะที่ใช้ระยะเวลาออกเสียงต่างกัน  ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะทำให้คำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นรูปเดียวกัน  มีเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน  ตัวอย่างเช่น  คา  เป็นอักษรต่ำ  คำเป็น  พื้นเสียง*  เป็นเสียงสามัญ
ส่วน  คะ  เป็นอักษรต่ำคำตาย  เสียงสั้น  พื้นเสียงเป็นเสียงตรี
                คำเป็น  ได้แก่  คำที่มีลักษณะ  ดังต่อไปนี้
๑.   คำที่พยัญชนะประสมกับสระเสียงยาวในแม่  ก  กา  เช่น  มา  ดู  ปู  เวลา  ปี  ฯลฯ
๒.  คำที่พยัญชนะประสมกับสระ  –ำ    ใ -  ไ -  เ – า  เช่น  จำ  น้ำ  ใช่  เผ่า  เสา  ไป  ฯลฯ
๓.  คำที่มีตัวสะกดอยู่ในแม่  กง  กน  กม  เกย  เกอว  เช่น  จริง  กิน  กรรม  สาว  ฉุย  ฯลฯ
                คำตาย  ได้แก่  คำที่มีลักษณะ  ดังต่อไปนี้
๑.   คำที่พยัญชนะประสมกับสระเสียงสั้นในแม่  ก  กา  เช่น  กะทิ  เพราะ  ดุ  แคะ  ฯลฯ
๒.  คำที่มีตัวสะกดในแม่  กก  กบ  กด  เช่น  บทบาท  ลาภ  เมฆ  เลข  ธูป  ฯลฯ
 สรุป
                วิธีพิจารณา
                                ๑)    ให้สังเกตที่ตัวสะกดเป็นหลัก  ถ้าคำที่ต้องการพิจารณามีตัวสะกดให้ดูที่ตัวสะกดไม่ต้องคำนึงถึงสระเสียงสั้นยาว  ดูว่าคำนั้นมีตัวสะกดหรือไม่  ถ้ามีให้ขีดเส้นใต้ตัวสะกด
                                ๒)  ดูว่าตัวสะกดนั้นเป็น  กบด  หรือไม่  ( แม่  กก  กบ  กด )  ถ้าใช่  คำนั้นจะเป็นคำตาย  ถ้าไม่ใช่  กบด คำนั้นจะเป็นคำเป็น
                                ๓)  ในกรณีที่ไม่มีตัวสะกด  ให้ดูว่าคำนั้นประสมด้วยสระเสียงสั้น  หรือเสียงยาว  ถ้าอายุสั้น
( เสียงสั้น )  ต้องตาย  ถ้าอายุยาว  ( เสียงยาว )  จึงเป็น

 

Blogger news

Blogroll

About

IT ปวช. 3